ยินดีต้อนรับเข้าสู่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู Information and Communication Technology for Teachers

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

ขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
     การนิยามปัญหา (Problem Definition)
ในขั้นแรกของการแก้ปัญหา สิ่งสำคัญที่สุด คือเราต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่าปัญหาคืออะไร ประเด็นหลักอยู่ที่ใด และต้องการให้ได้ผลลัพธ์อะไร อ่านต่อ


 
การใช้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหา

    ในชีวิตประจำวันทุกคนต้องเคยพบกับปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการเรียน การงาน การเงิน หรือแม้แต่การเล่นเกม เมื่อพบกับปัญหา แต่ละคนมีวิธีที่จะจัดการหรือแก้ปัญหาเหล่านั้นแตกต่างกันไป อ่านต่อ
กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

 กระบวนการเทคโนโลยี (Technological Process) คือ  ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากทรัพยากรให้เป็นผลผลิตหรือผลลัพธ์ อ่านต่อ

วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต

     จากปัญหาการล่อลวงอินเกิดจากการเล่นอินเทอร์เน็ตที่นับวันจะยิ่งมีมากขึ้น ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้พยายามหามาตรการป้องกันปัญหาและภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ต อ่านต่อ
คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
ได้กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น อ่านต่อ

การเชื่อมต่อต่างๆบนอินเทอร์เน็ต

    อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน กล่าวคือ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก สามรถเข้าถึงข้อมูลได้ไม่จำกัดสถานที่และเวลา อ่านต่อ

 การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
      การเชื่อมเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปหรือหน่วยงานขนาดเล็กจะใช้การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ (Dial-Up  Connection)  ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราว อ่านต่อ




การทำงานของอินเทอร์เน็ต
คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ
ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ Input  Process และ output
 อ่านต่อ

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายและพัฒนาการของอินเตอร์เน็ต
          อินเทอร์เน็ต (Internet)  เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ โดยใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว อ่านต่อ





วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ไดอารีและความทรงจำของวันวาน...

โรงเรียนอนุบาลบางคนทีคือโรงเรียนที่ฉันเข้ามาเรียนตั้งแต่อนุบาลจนถึง ป.6 โรงเรียนของฉันเป็นโรงเรียนเล็กๆ ฉันรู้สึกผูกพันและรักโรงเรียนนี้มาก เพราะเป็นสถานที่ที่ได้อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขมาเป็นเวลา 9 ปี ความทรงจำและเรื่องเล่าต่างๆของฉันและโรงเรียนแห่งนี้มีอยู่มากมาย เริ่มตั้งแต่เข้าอนุบาลได้เจอคุณครูที่น่ารักและใจดีครูสมัยอนุบาล เป็นคุณครูคนแรกที่ช่วยอบรมสั่งสอนและดูแล ความรู้สึกตอนฉันอยู่กับครูก็เหมือนแม่คนที่สองเลยล่ะ คุณครูสอนให้ฉันอ่าน ก-ฮ แล้วก็ร้องเพลง บางทีก็เล่านิทานให้ฟัง สมัยอนุบาลเป็นช่วงที่ยากจะลืมลงเลยเพราะมันเป็นช่วงที่สบายที่สุด.. พอขึ้น ป.1 คุณครูก็เริ่มสอนให้อ่านหนังสือเป็นคำและก็สอนให้ท่องศัพท์อังกฤษ คุณครูที่สอนเด็กอ่านหนังสือเป็นครูที่เก่งมากเพราะต้องสอนนักเรียนจำนวนไม่น้อยให้อ่านออกเขียนได้ ระยะเวลาล่วงเลยมา ฉันขึ้น ป.6 มันทำให้ฉันรู้สึกได้ว่าความผูกพันของฉันกับเพื่อนๆคุณครูและทุกสิ่งในโรงเรียนนี้มันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นึกย้อนไปตอนที่ได้ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน ตอนเล่นปิดแอบกับเพื่อนบนอาคารเรียนจนโดนครูทำโทษ ตอนที่เรานั่งร้องไห้ด้วยกันมันเป็นช่วงเวลาที่พิเศษที่สุดเลย แต่อีกไม่นานเราก็ต้องแยกย้ายกันไปเรียนที่อื่นแล้ว เพื่อนบางคนเรียนที่เดียวกันแต่บางคนก็ไปเรียนต่างจังหวัด อยากบอกเพื่อนทุกคนว่า ถึงแม้เราจะไม่ได้เรียนด้วยกันตลอดแต่เราก็ยังเป็นเพื่อนกันเสมอนะคิดถึงช่วงเวลาที่เราอยู่ด้วยกันมาตลอดถึงเวลามันจะเปลี่ยนไปแต่เพื่อนก็ยังคือเพื่อนและเพื่อนไม่เคยเก่า^^ อยากขอบคุณครูประถมทุกคนที่ทำให้ฉันมีวันนี้ ที่ช่วยสอนสิ่งต่างๆให้มากมายและทำให้ฉันสอบเข้ามาเรียนโรงเรียนนี้ได้ ทุกอย่างที่เราเคยผ่านมันมาด้วยกันฉันจะเก็บมันอยู่ในความทรงจำตลอดไป รักนะANUBANBKT <3 <3 <3 <3 <3

             

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ชื่อ ด.ญ.ณัฐชา    นามสกุล สุวรรณ  ชื่อเล่น เอย
เกิดวันที่ 30 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2543 อายุ 14 ปี
อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 30 หมู่ 13 ตำบล กระดังงา อำเภอ บางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม 75120
กำลังศึกษาอยู่ที่ โรงเรียนถาวรานุกูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 เลขที่ 26

ความหมายและความสำคัญของซอฟแวร์
1. ความหมายของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ (software)
      หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
          โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้


2.ประเภทของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น
1. ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)
คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่มำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
2.3 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานมราขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น
3.ซอฟต์แวร์ระบบช่วยในการทำงาน
ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระการแสดงผลบนจอภาพการนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้มการเรียกค้นข้อมูลการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดีคือระบบปฏิบัติการ(operating System) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น


วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

4.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ช่วยในการทำงาน
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ